วันจันทร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2555

หน่วยที่4
ซอฟต์แวร์(software)
                 ซอฟต์แวร์ คือ การลำดับขั้นตอนการทำงานของคำสั่งที่จะทำหน้าที่สั่งคอมพิวเตอร์ว่าให้ทำอะไรเป็นชุดของโปรแกรมหลายๆโปรแกรมนำมารวมกันให้สามารถทำงานได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ตามที่ต้องการเรามองไม่เห็นหรือสัมผัสไม่ได้แต่เราสามารถสร้าว จัดเก็บ และนำมาใช้งานหรือเผยแพร่ได้ด้วยสื่อหลายชนิดเช่น แผ่นบันทึก แผ่นซีดี แฟล็ซไดร์ฟ ฮาร์ดดิสก์ เป็นต้น
                                   หน้าที่ของซอฟต์แวร์
         ซอฟต์แวร์ทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมระหว่างผู้ใช้คอมพิวเตอร์และเครื่องคอมพิวเตอร์  ถ้าไม่มีซอฟต์แวร์  เราก็ไม่สามารถใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำอะไรได้เลย  ซอฟต์แวร์สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์สามารถแบ่งออกได้เป็นหลายประเภท
                               ประเภทของซอฟต์แวร์
            ซอฟต์แวร์แบ่งเป็น3ประเภทใหญ่ๆคือ
 ซอฟต์แวร์ระบบ(System Software)
 ซอฟต์แวร์ประยุกต์(Applicattion Software)
 และซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพาะ
      1.ซอฟต์แวร์ระบบ(System Software)
 ซอฟต์แวร์ระบบเป็นโปรแกรมที่บริษัทผู้ผลิตสร้างขึ้นมาเพื่อใช้จัดการกับระบบ หน้าที่การทำงานของซอฟต์แวร์ระบบ คือ ดำเนินงานพื้นฐานต่างๆของระบบคอมพิวเตอร์ เช่น รับข้อมูลจากแผงแป้นอักขระแล้วแปลความหมายให้คอมพิวเตอร์เข้าใจ นำข้อมูลไปแสดงผลบนจอภาพหรือนำออกไปยังเครื่องพิมพ์จัดการข้อมูลในระบบแป้นข้อมูลบนหน่วยความจำรอง
          System Software  หรือโปรแกรมระบบที่รู้จักดีก็คือ DOS,Windowe,Unix,Liunx รวมทั้งแปลคำสั่งที่เขียนในภาษาระดับสูง เช่น ภาษา Basic, Fortran,Pascal,Cobol,C เป็นต้น
        นอกจากนี้โปรแกรมที่ใช้ในการตรวจสอบระบบเช่น
หน้าที่ของซอฟต์แวร์ระบบ
1.ใช้ในการจัดการหน่วยรับเข้าและหน่วยส่งออก  เช่น รับรู้การกดแป้นต่างๆ บนแผงแป้นอักขระ ส่งระหัสตัวอักษรออกทางจอภาพหรือเครื่องพิมพ์  ติดต่อกับอุปกรณ์รับเข้าและส่งออกอื่นๆ เช่น  เมาส์  ลำโพง เป็นต้น
2.ใช้ในการจัดการหน่วยความจำ เพื่อนำข้อมูลจากแผ่นบันทึกมาบรรจุยังหน่วยความจำหลัก จำหลัก หรือในทำนองกลับกัน คือนำข้อมูลจากหน่วยความจำหลักมาเก็บไว้ในแผ่นบันทึก
3.ใช้เป็นตัวเชื่อมต่อระหว่างผู้ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์  เพื่อให้สามารถใช้งานได้ง่ายขึ้น เช่น การขอดูรายการในสารบบ(directory) ในแผ่นบันทึกการทำสำเนาแฟ้มข้อมูล
        ซอฟต์แวร์ระบบพื้นฐานที่เห็นกันทั่วไป แบ่งออกเป็น  ระบบปฏิบัติการ และตัวแปลภาษา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น