วันจันทร์ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

หน่วยที่4

หน่วยที่4
ซอฟต์แวร์(software)
                 ซอฟต์แวร์ คือ การลำดับขั้นตอนการทำงานของคำสั่งที่จะทำหน้าที่สั่งคอมพิวเตอร์ว่าให้ทำอะไรเป็นชุดของโปรแกรมหลายๆโปรแกรมนำมารวมกันให้สามารถทำงานได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ตามที่ต้องการเรามองไม่เห็นหรือสัมผัสไม่ได้แต่เราสามารถสร้าว จัดเก็บ และนำมาใช้งานหรือเผยแพร่ได้ด้วยสื่อหลายชนิดเช่น แผ่นบันทึก แผ่นซีดี แฟล็ซไดร์ฟ ฮาร์ดดิสก์ เป็นต้น
                                   หน้าที่ของซอฟต์แวร์
         ซอฟต์แวร์ทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมระหว่างผู้ใช้คอมพิวเตอร์และเครื่องคอมพิวเตอร์  ถ้าไม่มีซอฟต์แวร์  เราก็ไม่สามารถใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำอะไรได้เลย  ซอฟต์แวร์สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์สามารถแบ่งออกได้เป็นหลายประเภท
                               ประเภทของซอฟต์แวร์
            ซอฟต์แวร์แบ่งเป็น3ประเภทใหญ่ๆคือ
 ซอฟต์แวร์ระบบ(System Software)
 ซอฟต์แวร์ประยุกต์(Applicattion Software)
 และซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพาะ
      1.ซอฟต์แวร์ระบบ(System Software)
 ซอฟต์แวร์ระบบเป็นโปรแกรมที่บริษัทผู้ผลิตสร้างขึ้นมาเพื่อใช้จัดการกับระบบ หน้าที่การทำงานของซอฟต์แวร์ระบบ คือ ดำเนินงานพื้นฐานต่างๆของระบบคอมพิวเตอร์ เช่น รับข้อมูลจากแผงแป้นอักขระแล้วแปลความหมายให้คอมพิวเตอร์เข้าใจ นำข้อมูลไปแสดงผลบนจอภาพหรือนำออกไปยังเครื่องพิมพ์จัดการข้อมูลในระบบแป้นข้อมูลบนหน่วยความจำรอง
          System Software  หรือโปรแกรมระบบที่รู้จักดีก็คือ DOS,Windowe,Unix,Liunx รวมทั้งแปลคำสั่งที่เขียนในภาษาระดับสูง เช่น ภาษา Basic, Fortran,Pascal,Cobol,C เป็นต้น
        นอกจากนี้โปรแกรมที่ใช้ในการตรวจสอบระบบเช่น
หน้าที่ของซอฟต์แวร์ระบบ
1.ใช้ในการจัดการหน่วยรับเข้าและหน่วยส่งออก  เช่น รับรู้การกดแป้นต่างๆ บนแผงแป้นอักขระ ส่งระหัสตัวอักษรออกทางจอภาพหรือเครื่องพิมพ์  ติดต่อกับอุปกรณ์รับเข้าและส่งออกอื่นๆ เช่น  เมาส์  ลำโพง เป็นต้น
2.ใช้ในการจัดการหน่วยความจำ เพื่อนำข้อมูลจากแผ่นบันทึกมาบรรจุยังหน่วยความจำหลัก จำหลัก หรือในทำนองกลับกัน คือนำข้อมูลจากหน่วยความจำหลักมาเก็บไว้ในแผ่นบันทึก
3.ใช้เป็นตัวเชื่อมต่อระหว่างผู้ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์  เพื่อให้สามารถใช้งานได้ง่ายขึ้น เช่น การขอดูรายการในสารบบ(directory) ในแผ่นบันทึกการทำสำเนาแฟ้มข้อมูล
        ซอฟต์แวร์ระบบพื้นฐานที่เห็นกันทั่วไป แบ่งออกเป็น  ระบบปฏิบัติการ และตัวแปลภาษา
                              ประเภทของซอฟต์แวร์ระบบ
ซอฟต์แวร์ระบบแบ่งออกเป็น 2 ประเภท  คือ
1.ระบบปฏิบัติการ(Operating  System : OS)
2.ตัวแปลภาษา
             1.ระบบปฏิบัติการ หรืที่เรียกย่อๆ ว่า โอเอส (Operating  System : OS)
เป็นซอฟต์แวร์ใช้ในการดูแลระบบคอมพิวเตอร์  เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะต้องมีซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการนี้  ระบบปฏิบัติการที่นิยมมากและเป็นที่รู้จักกันมากและเป็นที่รู้จักกันดี เช่น ดอส วินโดวส์ ยูนิกซ์ ลีนุกซ์ และแมคอินทอช  เป็นต้น
     1)ดอส (Disk Operating System : Dos)
เป็นซอฟต์แวร์จัดระบบที่พัฒนามานานแล้ว  การใช้งานจึงใช้คำสั่งเป็นตัวอักษร   ดอสดีในหมู่ผู้ใช้ไมโครคอมพิวเตอร์
    2)วินโดวส์ (Windows)เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนาต่อจากดอส โดยให้ผู้ใช้สามารถสั่งงานได้ จากเมาส์มากขึ้นแทนการใช้แผงแป้นอักขระเพียงอย่างเดียว
    3)ยูนิกซ์(Unix)เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนามาตั้งแต่ครั้ง ใช้กับเครื่องมินิคอมพิวเตอร์ ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ เป็นระบบปฏิบัติที่เป็นเทคโนโลยีแบบเปิด (Opeen system)ซึ่งเป็นแนวคิดที่ผู้ใช้ไม่ต้องผูกติดกับระบบใดๆระบบหนึ่งหรือใช้อุปกรณ์ที่มียี่ห้อเดียวกัน  ยูนิกซ์ถูกออกแบบมาเพื่อตอบสนองการใช้งานในลักษณะที่มีผู้ใช้ได้หลายคนในเวลาเดียวกันที่เรียกว่า ระบบหลายผู้ใช(multiusers)และสามารถทำงานได้หลายๆงานเวลาเดียวกันในลักษณะที่เรียกว่าระบบหลายภารกิจ(multitasking)ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์จึงนิยมใช้กับเครื่องที่เชื่อมโยงเป็นเครือข่าย เพื่อใช้งานราวมกันหลายๆเครื่องพร้อมกัน
    4)ลีนุกซ์(linux)เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนาจากระบบยูนิกซ์  เป็นระบบซึ่งมีการแจกจ่ายโปรแกรมต้นฉบับให้นักพัฒนาช่วยกันพัฒนาคุณสมบัติของระบบระบบปฏิบัติการ  ระบบปฏิบัติการ ลีนุกซ์เป็นที่นิยมกันมากในปัจจุบัน เนื่องจากมีโปรแกรมประยุกต์ต่างๆที่ทำงานระบบลีนุกซ์จำนวนมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มของกูส์นิว(GNU)สิ่งที่สำคัญที่สุดคือระบบลีนุกซ์
 ระบบลีนุกซ์  สามารถทำงานได้บนซีพียูหลายตระกูล  เช่น อินเทล (PC Intel)ดิจิตอล(Digital Alpha Computer) และซันสปาร์ค (SUNSPARC) ถึงแม้ว่าในขณะนี้ลีนุกซ์ยังไม่สามารถแทนที่ระบบปฏิบัติการวินโดวส์บนพีซีได้ทั้งหมดก็ตาม  แต่ผู้ใช้จำนวนมากได้หันมาใช้  และ ช่วยพัฒนาโปรแกรมประยุกต์บน ลีนุกซ์กันมากขึ้น
5)แมคอินทอซ(macintosh)เป็นระบบปฏิบัติการสำหรับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์  แมคอินทอส ส่วนมากนำไปใช้งานด้านกราฟิก ออกแบบและจัดแต่งเอกสารนิยมใช้ในสำนักพิมพ์ต่างๆ
           ชนิดของระบบปฏิบัติการ จำแนกตามการใช้งาน สามารถจำแนกได้ 3 ชนิดด้วยกัน คือ
   1.ประเภทใช้งานเดียว(Single-tasking)ระบบปฏิบัติการประเภทนี้จะกำหนดให้คอมพิวเตอร์ใช้งานได้ครั้งละหนึ่งงานเท่านั้น   ใช้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กอย่างไมโครคอมพิวเตอร์  เช่น  ระบบปฏิบัติดอส เป็นต้น
   2.ประเภทใช้หลายงาน(Multi-tasking)ระบบปฏิบัติการประเภทนี้สามารถควบคุมการทำงานพร้อมกันหลายงานในขณะเดียวกัน  ผู้ใช้สามารถทำงานกับซอฟต์แวร์ประยุกต์ได้หลายชนิดในดวลาเดียวกัน เช่น ระบบปฏิบัติการ Windows98 ขึ้นไปและ UNIX เป็นต้น
   3.ประเภทใช้งานหลายคน(Multi-user)ในหน่วยงานบางแห่งอาจใช้งานคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ทำหน้าที่ประมวลผล  ทำให้ขณะใดขณะหนึ่งมีผู้ใช้คอมพิวเตอร์พร้อมกันหลายคนแต่ละคนจะมีสถานีของตนเองเชื่อมต่อกับคอมพิเตอร์จะต้องใช้กับระบบปฏิบัติการที่มีความสามารถสูง

2.  ตัวแปลภาษา
       การพัฒนาซอฟแวร์ต้องอาศัยซอฟแวร์ที่ใช้ในการแปลภาษาระดับสูงเพื่อแปลภาษาระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่อง
       ภาษาระดับสูงมีหลายระดับซึ่งสร้างให้ผู้เขียนโปรแกรมเขียนชุดคำสั่งได้ง่าย  เข้าใด้  และเพื่อให้สามารถปรับปรุงแก้ไขซอฟแวร์ภายหลังได้
        ภาษาระดับสูงที่พัฒนาขึ้นทุกภาษาต้องมีตัวแปลภาษา  ซึ่งภาษาระดับสูงได้แก่ ภาษาBasic,Pascal,C และ ภาษาโลโก้ เป็นต้น
         นอกจากนี้ยังมีภาษาคอมพิวเตอร์ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันอีกมาก ได้แก่ Cobol

             2.2  ซอฟแวร์ประยุกต์(Application  Software)
       ซอฟแวร์ที่ใช้ทำงานร่วมกับคอมพิวเตอร์ เพื่อใช้งานเฉพาะด้าน เช่น การจัดพิมพ์รายงาน
                 
                                                      ประเภทของซอฟแวร์ประยุกต์

แบ่งตามลักษณะการผลิต  จำแนกได้ 2 ประเภท คือ
1.ซอฟแวร์ที่พัฒนาขึ้นใช้เองโดยเฉพาะ(Proprietary  Software)
2.ซอฟแวร์ที่หาซื้อได้ทั่วไป(Packaged Software)
มีทั้งโปรแกรมเฉพาะ(Cusyomized Package)และโปรแกรมมาตรฐาน(Standard Package)
              แบ่งตามกลุ่มการใช้งาน จำแนกได้เป็น3 กลุ่มใหญ่ๆ ดังนี้
 1.กลุ่มการใช้งานทางด้านธุรกิจ(Business)
 2.กลุ่มการใช้งานด้านกราฟิกและมัลติมีเดีย(Graphic and Multimedia)
 3.กลุ่มการใช้งานบนเว็บ(Web and Communications)
                กลุ่มการใช้งานด้าธุรกิจ
     ซอฟแวร์กลุ่มนี้ ถูกนำมาใช้โดยมุ่งหวังให้การใช้งานมีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น การจัดการพิมพ์รายงานเอกสาร  นำเสนองาน  และการบันทึกนัดหมายต่างๆ ตัวอย่างเช่น
  โปรแกรมประมวลผลคำ อาทิ Microsoft Microsoft Word,Sun StarOffice Writer
   โปรแกรมตารางคำนวณ อาทิ Microsoft Microsoft Excel, Sun StarOffice Cals
   โปรแกรมนำเสนองาน อาทิ Microsoft

                 กลุ่มการใช้งานด้านกราฟิกและมัลติมีเดีย
ซอฟแวร์กลุ่มนี้ถูกพัฒนาเพื่อช่วยจัดการด้านงานกราฟิฟและมัลติมีเดีย  เพื่อให้งานง่ายขึ้น เช่นใช้ตกแต่ง  การสร้างและการออกแบบเว็บไซต์ เช่น
   โปรแกรมงานออกแบบ อาทิ Microsoft visio Professional
    โปรแกรมตกแต่งภาพ  อาทิ CorelDRAW
    โปรแกรมตัดต่อวิดิโอและเสียง อาทิ Adobe Premiere
    โปรแกรมสร้างมัลติมีเดีย อาทิ Adobe Authorware
    โปรแกรมสร้างเว็บ อาทิ Adobe Flash
                 
                   กลุ่มการใช้งานบนเว็บและการติดต่อสื่อสาร
      เมื่อเกิดการเจริญเติบโตของเครือข่ายอินเตอร์เน็ตซอฟแวร์กลุ่มนี้ได้ถูกพัฒนาขึ้นมาใช้งานเฉพาะเพิ่มมากขึ้น เช่นโปรแกรมตรวจเช็คอีเมลล์  อื่นๆ  เช่น
   โปรแกรมจักการอีเมลล์ อาทิ Microsoft  Outlook
    โปรแกรมท่องเว็บ อาทิ Microsoft Internet Explorer
    โปรแกรม ประชุมทางไกล (Video Conference) อาทิ  Microsoft  Netmeeting
     โปรแกรมส่งข้อความด่วน อาทิ MSN Messenger
     โปรแกรมสนทนาบนอินเทอร์เน็ต อาทิ PIRCH

     ความจำเป็นของการใช้ซอฟแวร์
การใช้ภาษาเครื่องนี้ถึงแม้ว่าคอมพิวเตอร์จะเข้าใจได้ทันที  แต่มนุษย์ผู้ใช้จะมีข้อยุ่งยากมากเพราะเข้าใจและจะจำได้ยากจึงมีผู้สร้างภาษาคอมพิวเตอร์ในรูปแบบที่เป็นตัวอักษร เป็นประโยคข้อความ ภาษาในลักษณะดังกล่าวนี้เรียกว่าภาษาคอมพิวเตอร์ระดับสูง
         ซอฟแวร์และภาษาคอมพิวเตอร์
 เมื่อมนุษย์ต้องการใช้ช่วยในการทำงานจะต้องบอกขั้นตอนวิธีการให้คอมพิวเตอร์ทราบ  การที่บอกสิ่งที่มนุษย์เข้าใจให้คอมพิวเตอร์รับรู้ และทำงานได้อย่างถูกต้อง จำเป็นต้องมีสื่อกลาง สำหรับให้มีการติดต่อให้คอมพิวเตอร์รับรู้เราเรียกสื่อกลางนี้ว่า ภาษาคอมพิวเตอร์

              ภาษาคอมพิเตอร์ในแต่ละยุคประกอบด้วย
  ภาษาเครื่อง
      เนื่องจากคอมพิวเตอร์ทำงานด้วยสัญญาณไฟฟ้าใช้แทนด้วยตัวเลข 0 และ 1 ผู้ออกแบบคอมพิวเตอร์ใช้ 0 และ 1 เป็นรหัสแทนคำสั่งงาน รหัสแทนข้อมูลและคำสั่งใช้ระบบเลขฐานสอง คอมพิวเตอร์สามาร๔เข้าใจได้เราเรียกเลขฐานสองที่ประกอบเป็นชุดคำสั่งและใช้สั่งงานคอมพิวเตอร์ว่าภาษาเครื่อง
      การใช้ภาษาเครื่องนี้คอมพิวเตอร์จะเข้าใจได้ทันที
       
              ภาษาแอสเซมบลี
    เป็นภาษาคอมพิวเตอร์ในยุคที่2 ถัดจากภาษาเครื่อง  ภาษาแอสเซมบลีช่วยลดความยุ่งยากลงในการเขียนโปรแกรมเพื่อติดต่อกับคอมพิวเตอร์ 
      แต่อย่างไรก็ตามภาษาแอสเซมบลีก็มีความใกล้เคียงภาษาเครื่องอยู่มากและจำเป็นต้องใช้ตัวแปลภาษาที่เรียกว่า แอสเซมบลี

              ภาษาระดับสูง
  เป็นภาษาคอมพิวเตอร์ระดับสูงในยุคที่3เริ่มมีการใช้คำสั่งที่เรียกว่า Statementsมีลักษณะเป็นประโยคภาษาอังกฤษทำให้ผู้เขียนโปรแกรมสามารถเข้าใจชุดคำสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานง่ายขึ้น   ตัวแปลภาษาระดับสูงเพื่อให้เป็นภาษาเครื่องนั้นมีอยู่2ชนิด คือ
  คอมไพเลอร์และ อินเทอร์พรีเตอร์

                        คอมไพเลอร์   จะทำการแปลโปรแกรมที่เขียนเป็นภาษาระดับสูงทั้งโปรแกรม
                        อินเทอร์พรีเตอร์  จะแปลทีละคำสั่ง
      
ข้อแตกต่างของทั้งสอง จึงอยู่ที่การแปลทั้งโปรแกรมหรือแปลทีละคำสั่ง

             
                               โครงสร้างของเครือข่ายคอมพิวเตอร์
1. เครือข่ายเฉพาะที่ (Local Area Network : LAN)
           เป็นเครือข่ายที่มักจะพบเห็นเนองค์กรณ์โดยส่วนใหญ่ของการเชื่อมคอมพิวเตอร์เป็นวง LAN
จะมีอยู่ในพื้นที่ใกล้ๆกัน
2. เครือข่ายเมือง( Metropolitan Area Network : MAN)
           เป็นกลุ่มของเครือข่าย LAN ที่นำมาเชื่อมต่อกันเป็นวงที่ใหญ่ขึ้น ภายในบรเวณพื้นที่ใกล้เคียง เช่นในเมืองเดียวกัน  เป็นต้น
3. เครือข่ายบริเวณกว้าง ( Wide Area Network : WAN)
            เป็นเครือข่ายที่ใหญ่ขึ้นไปอีกระดับ โดยเป็นการรวมเครือข่ายทั้ง LAN และ MAN มาเชื่อมต่อกันเป็นเครือข่ายเดียวกัน ดังนั้นเครือข่ายยี้จึงครอบคลุมพื้นที่กว้าง โดยมีการครอบคลุมไปทั่วประเทศ หรือ ทั่วโลก เช่น อินเตอร์เน็ต ซึ่งถือเป็นเครือข่ายสาธารณะที่ไม่มีใครเป็นเจ้าของ
  
                         การทำงานของระบบNetwork และ Internet
            รูปแบบโครงสร้างของเครือข่าย
         การจัดระบบการทำงานของเครือข่าย มีรูปแบบโครงสร้วของเครือข่าย  อันเป็นการจัดวางคอมพิวเตอร์ และการเดินสายสัญญานคอมพิวเตอ์ในเครือข่าย รวมถึงหลักการไหลเวียนข้อมูลในเครือข่ายด้วย โดยแบ่งเป็นโครงสร้างเครือข่ายหลักได้ 4 แบบ คือ
1.เครือข่ายแบบดาว
2.เครือข่ายแบบวงแหวน
3.เครือข่ายแบบบัส
4.เครือข่ายแบบต้นไม้
           รูปแบบของโครงสร้างเครือข่าย
 1. แบบดาว เป็นการต่อสายเชื่อมโยงโดยการนำสถานีต่างๆ มาต่อรวมกันกับหน่วยสลับสายกลาง
 ลักษณะการทำงานแบบดาว
    เป็นการเชื่อมโยงการติต่อสื่อสารที่มีลักษณะ คล้ายรูปดาวหลายแฉก โดยมีสถานีกลาง การสื่อสารแบบดาวจะมี 2 ทิทางโดยจะอนุญาตให้มีเพียงโหนดเท่านั้นที่สามารถส่งข้อมูลเข้าสู่เครือข่ายได้
2. แบบวงแหวน เป็นแบบสถานีของเครือข่ายทุกสถานีจะต้องเชื่อมต่อกับเครือข่ายสัญญาณของตนเองด้วยกันเป็นวงแหวนเครือข่ายสัญาณนี้จะจะรับข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์ของตัวเอง และส่งข้อมูลยังสัญญาณต่อไปเรื่อยๆ
3.แบบบัส เป็นเครือข่ายที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ต่างๆ ด้วยสายเคเบิ้ลยาว ต่อเนื่องไปเรื่อยๆ โดยจะมีอุปกรณ์เป็นตัวเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เข้ากับสายเคเบิ้ล ในการส่งข้อมูล จะมีคอมพิวเตอร์เพียงตัวเดียว วิธีการที่ใช้อาจแบ่งเวลาหรือให้แต่ละสถานีใช้ความถี่ สัญญาณที่แตกต่างกัน  ซึ่งจะใช้ในเครือข่ายขนาดเล็ก ในองค์กรที่มีคอมพิวเตอร์ไม่มากนัก
4.แบบต้นไม้ เป็นเครือข่ายที่มีการผสมผสานโครงสร้างเครือข่ายแบบต่างๆเข้าด้วยกันเป็นเครือข่ายขนาดใหญ่
              
             การประยุกต์ใช้งานของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
     ระบบเครือข่ายจะทำให้เกิดการสื่อสารและการแบ่งปันการใช้ทรัพยากรระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์
    
            รูปแบบการใช้งานของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
     ระบบเครือข่ายแบ่งตามลักษณะการทำงาน ได้เป็น 3 ประเภท คือ
1. ระบบเครือข่ายแบบรวมศูนย์กลาง
2.ระบบเครือข่ายแบบ Peer-to Peer
3.ระบบเครือข่ายแบบ Client / Server
        
          การประยุกต์ใช้งานของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
1. ระบบเครือข่ายแบบรวมศูนย์กลาง
       เป็นระบบที่มีเครือข่ายหลักเพียงเครื่องเดียวที่ใช้ในการประมวณผล ตั้งอยู่ที่ศูนย์กลาง
2. ระบบเครือข่ายแบบ Peer-to Peer
        จะมีความเท่าเทียมกันสามารถที่จะแบ่งปันทรัพยากรให้แก่กันและกันได้
3.  ระบบเครือข่ายแบบ Client / Server
         สามารถสนัสนุนให้มีเครือข่ายลูกข่ายได้เป็นจำนวนมากและสามารถเชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ได้หลายสถานี  ทำงานโดยเครื่อง Server  ที่ให้บริการเป็นศูนย์กลางอย่างน้อย 1 เครื่อง
เป็นระบบที่มีการยืดหยุ่นสูง








 





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น